กุ้งฝอยชุมชน เป็นธุรกิจผลิตสัตว์น้ำทางเลือกที่ใช้พื้นที่ทรัพยากรน้อยลง ไม่มีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะในระหว่างการเลี้ยง กุ้งฝอยเป็นกุ้งน้ำจืดขนาดเล็กที่สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย การเลี้ยงกุ้งฝอยสามารถทำได้ง่ายกว่าการเลี้ยงกุ้งสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดอื่น ทรัพยากรที่ใช้ในการเลี้ยงระยะเวลาที่ใช้รวมไปถึงทักษะฝีมือความชำนาญไม่ต้องมากเท่ากุ้งชนิดอื่น จึงสามารถใช้แรงงานในท้องถิ่นและให้เกษตรกรเป็นผูู้ร่วมผลิตได้ด้วย กุ้งฝอยสามารถนำไปประกอบอาหารและแปรรูปได้หลากหลายมีลำตัวขนาดเล็กสามารถรับประทานได้ทั้งตัว ช่วยแก้ไขปัญหาการเกิดขยะอาหาร ลดการจับจากแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งเป็นการรบกวนระบบนิเวศซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหลบภัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนและลดผลกระทบห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศในแหล่งน้ำธรรมชาติ
ปัจจุบันปริมาณกุ้งฝอยในแหล่งน้ำธรรมชาติ มีปริมาณลดลงเนื่องจากความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ปริมาณกุ้งฝอยในธรรมชาติที่ลดลงยังส่งผลให้กุ้งฝอยในท้องตลาดมีราคาแพงมากขึ้น จากที่เคยเป็นสัตว์น้ำธรรมที่สามารถจับได้ง่ายตามแหล่งน้ำธรรมชาติ นอกจากนี้การจับกุ้งฝอยตามแหล่งน้ำธรรมชาติยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เพราะการจับกุ้งฝอยในแต่ละครั้งเป็นการรบกวนแหล่งที่อยู่อาศัยหลบภัยของสัตว์น้ำในธรรมชาติรวมไปถึงส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำชนิดอื่น
ส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งฝอยสำหรับเกษตรกรในชุมชนร โดยการสร้างฟาร์มตัวอย่างถ่ายทอดองค์ความรู้การเพาะเลี้ยงกุ้งฝอย การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการประมงมาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มีปริมาณมากยิ่งขึ้นและสะดวกในการจับไปใช้บริโภคมากกว่าการจับจากแหล่งน้ำในธรรมชาติ เลือกวิธีการเลี้ยงให้เหมาะสมสำหรับเกษตรกรแต่ละราย เช่นหากมีแหล่งน้ำสำหรับใช้ในการเกษตรอยู่แล้วก็ใช้วิธีการเลี้ยงรูปแบบหนึ่ง เพื่อประหยัดต้นทุนในการเตรียมบ่อ ส่วนเกษตรกรที่มีพื้นที่จำกัดก็จะมีการใช้บ่อเลี้ยงที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม
: 12
: 60,000.00
: ดนุพล มุ่งจ่าง
(ผู้จัดทำโครงการ)
15.9 By 2020, integrate ecosystem and biodiversity values into national and local planning, development processes, poverty reduction strategies and accounts