บริษัท อารยา นิกะห์ ฯ เป็น วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ดูแลการแต่งงานอิสลามระหว่างประเทศและ ภายในประเทศ ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) บริษัทอารยานิกะห์ เป็นองค์กรเอกชนหนึ่ง ที่เข้าร่วมแก้ไขปัญหา การค้ามนุษย์ผ่านการแต่งงาน ด้วยการนำเสนอพันธกิจต่างๆ ที่เชื่อมโยงความร่วมมือกับภาครัฐ และ ภาคการศาสนา เป้าหมายต้องการ ช่วยให้ ผู้หญิงและเด็ก ปลอดภัย จากการแต่งงานอิสลามโดยผู้ที่ไม่สุจริต หรือตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ในการแต่งงานข้ามวัฒนธรรม อ่านเจตนารมย์วิสาหกิจเพื่อสังคมเพิ่มเติม ปัจจุบัน บริษัทฯได้จัดตั้ง ศูนย์ให้คำปรึกษาการแต่งงานอิสลามระหว่างประเทศ (INCC) และพัฒนา กรอบ Nikah Guardian Thailand ขึ้น กรอบดังกล่าว เป็นนวัตกรรมทางสังคม ที่ช่วยคัดกรอง และให้ความรู้ หรือส่งสัญญาณให้ ฝ่ายหญิงที่เข้าสู่กระบวนการแต่งงานอิสลามข้ามวัฒนธรรมศาสนา รู้ตัวเองเบื้องต้นว่าอยู่ในความเสี่ยงหรือไม่ และจะลดความเสี่ยงได้อย่างไร? รวมทั้งยังพัฒนาแนวทางต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้คู่แต่งงาน ให้ความสำคัญในการวางแผนครอบครัว ในบรรยากาศพหุวัฒนธรรมที่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน แม้จะมีที่มาจากต่างวัฒนธรรมศาสนา โดยหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะ ลดจำนวน การหย่าร้างด้วยความรุนแรง ซึ่งทางศูนย์คาดหวังที่จะขยายแนวคิดการวางแผนที่ให้เกียรติครอบครัวทุกความเชื่อศาสนา และ เป็นระบบ นี้ให้กับคู่แต่งงานทุกศาสนาในประเทศไทย ด้วยความรู้ ด้านการจัดงานแต่งงานอิสลามทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรม หรือวัฒนธรรมเดียวกัน การวางแผนครอบครัว งานด้านสันติวิธี กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน หลักการพหุวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นการให้เกียรติกันแม้จะต่างศาสนา และ ผลงานการทำงานด้านงานศาสนาอิสลามที่ได้รับการยอมรับจากภาคการศาสนา ทำให้เราหวัวว่า เราจะนำความรู้เหล่านี้ มาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์สูงสุดของสังคมไทย และสร้างความปลอดภัยให้กับ ผู้หญิงและเด็กให้มากที่สุด เพื่อให้การแต่งงานเป็นพื้นที่ปลอดภัยของทุกคน
1.1 การแต่งงานที่ไม่สุจริตและการค้ามนุษย์ ตามรายงานของ UNODC ประเทศไทยกำลังประสบปัญหา การค้ามนุษย์ ผ่านการแต่งงานระหว่างประเทศ การค้ามนุษย์ มักเชื่อมโยงกับการแต่งงานที่มีลักษณะ การบังคับ การละเมิด หรือการแสวงหาผลประโยชน์ เหยื่อ ซึ่งมักจะเป็นผู้หญิงและเด็ก ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ยากจน ว่างงาน ถูกหลอกลวงให้เชื่อว่าพวกเขากำลังจะแต่งงานกับคู่ครองที่มีความปรารถนาดี แต่แท้จริงแล้วพวกเขาถูกนำไปใช้เป็นแรงงานบังคับ หรือ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ ผู้หญิงจากภูมิภาคที่ยากจนถูกล่อลวงให้แต่งงานกับชาวต่างชาติภายใต้คำสัญญาว่าพวกเขาจะมีชีวิตที่ดีขึ้นในต่างประเทศ แต่เมื่อมาถึงประเทศของสามี พวกเธอกลับถูกแสวงหาผลประโยชน์และไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานใดๆ ความสัมพันธ์ ระหว่าง การแต่งงาน และการค้ามนุษย์ เป็นหัวข้อที่ซับซ้อนเป็นพิเศษ เนื่องจากมีปัจจัยทางวัฒนธรรม ศาสนา และเศรษฐกิจที่ฝังลึกเกี่ยวกับสถาบันการแต่งงาน เช่น กรณี กรณีเด็กหญิงมุสลิมวัย 11 ปีในนราธิวาสแต่งงานเป็นภรรยาคนที่สามกับชายชาวมาเลเซียวัย 41 ปี ทำให้เกิดการประท้วงใหญ่ในมาเลเซีย และ ภาครัฐ และ ภาคศาสนาประเทศไทยต้องเข้าไปแก้ปัญหา ที่เกิดขึ้น เนื่องจากผิดต่อกฎหมายไทย และกฎหมายของประเทศมาเลเซีย แต่เกิดขึ้นจากการใช้ช่องว่างทางกฏหมาย ประเทศไทย การแต่งงานในวัยต่ำกว่าเกณฑ์ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในพื้นที่สามจังหวัด มีรายงานว่าจังหวัดนราธิวาสในปีเดียว มีเด็กอายุต่ำกว่าเกณฑ์คลอดบุตรในโรงพยาบาลถึง 1,100 คน ในรายงานดังกล่าวมีการกล่าวถึงการถูกบังคับให้แต่งงาน นอกจากนี้ ในรายงานยังสะท้อนถึงการข้ามประเทศมาเพื่อแต่งงานกับหญิงคนไทย ในรายงาน ของ The Guardian โมฮัมหมัด ลาซิม เล่าว่า ดำเนินธุรกิจดังกล่าว โดยช่วยจัดเตรียมงานแต่งงานข้ามพรมแดนให้กับชายชาวมาเลเซีย เขาทำงานกับเจ้าบ่าวมากกว่า 50 คนต่อปี โดยส่วนใหญ่ต้องการภรรยาคนที่สองหรือสาม , ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นจำนวนมากในประเทศไทย เราไม่มีทางรู้เลยว่า เป็นการแต่งงานเพื่อแสวงหาประโยชน์ต่อหญิงไทยหรือไม่อย่างไร? และ คู่ไหนบ้างที่อยู่ในกลุ่มที่เป็นการค้ามนุษย์? เนื่องจาก ปัจจุบันไม่ได้มีระบบตรวจสอบดังกล่าว ที่จะรับมือกับปัญหาลักษณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งงานชั่วคราวหรือการแต่งงานเพื่อแสวงหาประโยชน์หรือ การค้ามนุษย์ 1.2 การแต่งงานที่สุจริต การหย่าร้าง และความรุนแรง การแต่งงานระหว่างประเทศ หรือ รวมทั้งข้ามวัฒนธรรมศาสนาในประเทศไทยนั้น ก็อาจเป็นการแต่งงานที่สุจริตได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นการแต่งงานที่สุจริต กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่มีปัญหาต่างกันที่ต้องพิจารณาในกรอบคุณภาพชีวิตของครอบครัวและบุตร เช่นปัญหา การตื่นตระหนกทางวัฒนธรรม การขาดการวางแผนครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัว ตลอดจน การหย่าร้างที่มีความรุนแรง สถิติการจดทะเบียนและ หย่าร้างปี พ.ศ. 2560-2565 พบว่าอัตราหย่าร้างอยู่ที่ 47.8% หรือ สิบคนจะมี 5 คนที่หย่าร้าง สำหรับครอบครัวมุสลิมนั้น แม้จะมีอัตราการหย่าร้างที่ต่ำกว่า อย่างไรก็ดี ตามรายงานของสำนักข่าวอิศรา พบว่า คดีฟ้องหย่าเฉพาะปัตตานีจังหวัดเดียวในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งสิ้น รวม 3,109 คดี ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยิ่งยุ่งยากขึ้น ถ้าฝ่ายหญิงไม่มีความรู้ หรือความเข้าใจ การหย่าร้างตามหลักการศาสนาอิสลาม และ กรอบกฏหมายที่มีความแตกต่างกันในประเทศไทย รวมทั้งต่างประเทศ เนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมและศาสนา ตลอดจนสัญชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างความเดือดร้อนอย่างมากให้กับฝ่ายหญิง โดยเฉพาะ กรณีที่มีบุตร ที่จะนำไปสู่ปัญหาด้านคุณภาพชีวิตของเด็กในครอบครัวที่หย่าร้างมากขึ้น มีรายงานว่า พบปัญหาเกี่ยวกับเด็กในครอบครัวที่หย่าร้างจำนวนมากในพื้นที่สามจังหวัด นอกจากนี้เด็กในครอบครัวหย่าร้างยังเผชิญกับปัญหาทางจิตใจ สังคม และการพัฒนาตนเองในระยะยาว การเลือกคู่ครองอย่างเหมาะสม และการมีความรู้ ยิ่งเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น เพื่อให้ฝ่ายหญิงตระหนักกว่า ในการระบบการหย่าร้างทางศาสนาในประเทศไทยนั้น มีช่องว่างและตามหลังประเทสมุสลิมอื่นๆ เช่น ฝ่ายชายได้รับสิทธิในการหย่า โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากฝ่ายหญิง แม้หลายภาคส่วนจะพยายามช่วยกันแก้ไขเรื่องนี้ให้ฝ่ายชายตระหนักถึงความรับผิดชอบตามหลักศาสนา แต่ทำได้เพียงให้คำแนะนำ ซึ่งต่างจากประเทศมุสลิมอื่นๆ ที่ มีกฎหมายบังคับให้ฝ่ายชายที่ต้องการหย่าเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย และ รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ปัญหาลักษณะนี้ประเทศไทยไม่่สามารถปรับได้โดยเร็ว และ ผู้หญิงจะได้รับผลกระทบอีกมาก การให้ความรู้ และการวางแผนครบอครัว จึงยิ่งทวีความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก ในสถานการณ์การแต่งงานเหล่านี้
พัฒนา ecosystem ของการแต่งงานอิสลามระหว่างประเทศที่ปลอดภัยกับผู้หญิงและเด็ก พัฒนาระบบการให้ความรู้ ออนไลน์ ออนไซต์ สำหรับ ชายและหญิงที่กำลังจะแต่งงาน ในครอบครัวมุสลิม
: 12
: 1,000,000.00
: เยาฮารี แหละตี
(กรรมการและผู้ก่อตั้ง)
วลัญชา สุพรรณธริกา
(กรรมการและผู้ก่อตั้ง)
5.1 End all forms of discrimination against all women and girls everywhere
5.2 Eliminate all forms of violence against all women and girls in the public and private spheres, including trafficking and sexual and other types of exploitation
5.3 Eliminate all harmful practices, such as child, early and forced marriage and female genital mutilation
ผู้หญิงในกลุ่มเปราะบาง |
||
ผู้หญิงทุกศาสนาในกลุ่มเปราะบาง ที่ถูกเชิญชวน ให้เข้าสู่การแต่งงานอิสลามที่ไม่สุจริต
ความเสี่ยงในการตกสู่การแต่งงานอิสลามที่ไม่สุจริต และ การค้ามนุษย์ผ่านการแต่งงานอิสลาม |
||