Impact Flow   beta  
<

OIC-โอเอซิสอินเดอะซิตี้

การขยายตัวของเมืองและการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นประชากรได้นำมาซึ่งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ปัญหาขยะมูลฝอย" ซึ่งเป็นปัญหาที่ค่อยๆ สะสมมาเรื่อยๆ และทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อระบบการจัดการขยะชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านปริมาณและองค์ประกอบของขยะที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันเทศบาลตำบลต่างๆ ต้องรับภาระในการจัดการขยะมูลฝอยที่เข้าสู่ระบบการจัดการวันละประมาณ 8-10 ตัน และมีขยะตกค้างที่ยังไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมในบ่อฝังกลบขยะของเทศบาลอีกมาก จากการศึกษาองค์ประกอบของขยะในหลุมฝังกลบของเทศบาล พบว่าประกอบด้วยพลาสติกในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 40.89 เศษอาหารร้อยละ 19.11 ขยะจากสวนร้อยละ 8.31 สภาพปัญหาที่เห็นได้ชัดในพื้นที่คือการพบเห็นกองถุงขยะที่ถูกวางไว้ตามริมถนนอย่างไม่เป็นระเบียบ ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่ไม่น่ามอง หลายจุดพบว่ากองขยะส่งกลิ่นเหม็นและมีแมลงวันตอม ซึ่งอาจเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคและสร้างความเสี่ยงด้านสุขภาพแก่ประชาชน ปัญหาขยะชุมชนจึงเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของประชาชน และคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่กลับได้รับการจัดการที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดการสะสมของขยะ สร้างมลภาวะ และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของท้องถิ่น

OIC-โอเอซิสอินเดอะซิตี้ เล็งเห็นว่าประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะมูลฝอยภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ที่มุ่งเน้นการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และล่าสุดได้มีการผลักดันวาระแห่งชาติ "BCG Economy Model" หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ในขณะที่แนวคิด "เศรษฐกิจเกื้อโลก (Regenerative Economy)" ถือเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่มีศักยภาพในการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาขยะชุมชนอย่างยั่งยืน โดยเศรษฐกิจเกื้อโลกเป็นแนวคิดที่พัฒนาต่อยอดจากเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เน้นการฟื้นฟูและคืนสมดุลให้แก่ระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และสังคม โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การออกแบบระบบหมุนเวียนทรัพยากร และการส่งเสริมพฤติกรรมที่เกื้อหนุนสิ่งแวดล้อม อันเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นและแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน OIC เล็งเห็นว่าหากมีการนำแนวคิดเศรษฐกิจเกื้อโลกมาประยุกต์ใช้ในการจัดการขยะชุมชน โดยมุ่งเน้นการลดการสร้างขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง การคัดแยกและการจัดการขยะอินทรีย์ตั้งแต่ต้นทางอย่างเหมาะสม จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการจัดการขยะและช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตคนในชึมชนได้

:    12
:      300,000.00

:         กอบมณี ทัตติยกุล (ผู้ก่อตั้ง)


1.สร้างชุมชนน่าอยู่ด้วยระบบการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจเกื้อโลกในชุมชนภาคตะวันออกของประเทศไทย

Goal 11: Sustainable Cities and Communities
Goal 11: Sustainable Cities and Communities

11.6 By 2030, reduce the adverse per capita environmental impact of cities, including by paying special attention to air quality and municipal and other waste management

1.ลดการสร้างขยะตั้งแต่ต้นทางในกระบวนการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจเกื้อโลกในชุมชนภาคตะวันออกของประเทศไทย

Goal 12: Responsible Consumption and Production
Goal 12: Responsible Consumption and Production

12.5 By 2030, substantially reduce waste generation through prevention, reduction, recycling and reuse

2. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการของเสียโดยการจัดการขยะอินทรีย์ในชุมชนให้เหมาะสมในกระบวนการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจเกื้อโลกในชุมชนภาคตะวันออกของประเทศไทย

Goal 13: Climate Action
Goal 13: Climate Action

13.3 Improve education, awareness-raising and human and institutional capacity on climate change mitigation, adaptation, impact reduction and early warning




   

ชุมชน

    ชุมชนในฐานะผู้สร้างขยะหลักในเมืองจะสามารถลดรายจ่ายจากการวร้างขยะ
   
    
     - การปรับพฤติกรรมเป็นเรื่องยาก - รายจ่ายที่ลดได้อาจเป็นแรงจูงใจที่ไม่มากพอสำหรับบางกลุ่ม

Refill Station จัดร้านเติมน้ำยาในุชมชนเพื่อลดการสร้างขยะบรรจุภัณฑ์สินค้าต่างๆ

ลดรายจ่าย

  
ลูกค้าสามารถลดรายจ่ายจากการซื้อผลิตภัณฑ์จาก OIC-โอเอซิสอินเดอะซิตีิคนละ 10 บาท 500 คน เป็นเงิน 5,000 บาท

0 บาท

5000 บาท

Refill Station จัดร้านเติมน้ำยาในุชมชนเพื่อลดการสร้างขยะบรรจุภัณฑ์สินค้าต่างๆ

ขยะพลาสติกบรรจุภัณฑ์ในชุมชนลดลง

  
ลูกค้าสามารถลดขยะพลาสติกที่เป็นบรรจุภัณฑ์ 500 คน

0 ชิ้น

500 ชิ้น

  • 1.สร้างชุมชนน่าอยู่ด้วยระบบการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจเกื้อโลกในชุมชนภาคตะวันออกของประเทศไทย
  • 1.ลดการสร้างขยะตั้งแต่ต้นทางในกระบวนการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจเกื้อโลกในชุมชนภาคตะวันออกของประเทศไทย
  • 2. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการของเสียโดยการจัดการขยะอินทรีย์ในชุมชนให้เหมาะสมในกระบวนการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจเกื้อโลกในชุมชนภาคตะวันออกของประเทศไทย

ลดรายจ่าย