Impact Flow   beta  
<

มือวิเศษสัญจร - YOLO

“มือวิเศษสัญจร x บ้านนี้ไม่เทรวม” เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครและภาคีเครือข่าย เช่น Zero Waste YOLO ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยเฉพาะขยะพลาสติกที่รีไซเคิลยาก ผ่านกิจกรรมให้ความรู้ สาธิตการคัดแยก และรับขยะจริงจากชุมชนไปอัพไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โครงการนี้ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชน ลดขยะฝังกลบ และขยายผลสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากกิจกรรมมืิอวิเศษสัญจรที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน ณ ศาลาว่าการกทม. ดินแดง แล้ว Zero Waste YOLO ยังพยายามเชิญชวนให้เกิดกิจกรรมดังกล่าวในทุก ๆ เขตของกทม.อีกด้วย

โยโลมองเห็นปัญหาสำคัญของขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ในระบบทั่วไป เช่น พลาสติกแก้วเครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์พลาสติก ซองขนม ถุงพลาสติกบาง หรือฟิล์มห่อสินค้า ฯลฯ ซึ่งมักจบลงที่หลุมฝังกลบหรือหลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อม โดยประชาชนจำนวนมากยังเข้าใจผิดว่าพลาสติกทุกชนิดสามารถรีไซเคิลได้ และแม้บางคนจะแยกขยะก็ยังรู้สึกว่า “คัดแยกไปก็ไม่มีประโยชน์” เพราะไม่เห็นปลายทางที่ชัดเจนของขยะที่แยกออกมา อีกทั้งยังขาดช่องทางและแรงจูงใจในการคัดแยกอย่างต่อเนื่อง โยโลจึงออกแบบกิจกรรม “มือวิเศษสัญจร” ขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และเชื่อมโยงขยะที่ประชาชนแยกไปสู่การอัพไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้จริง ทำให้ทุกคนเห็นผลลัพธ์ของการคัดแยกอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ กิจกรรมมือวิเศษสัญจรยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนปรับตัวต่อค่าธรรมเนียมการจัดการขยะของกรุงเทพมหานคร ที่จะเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม 2568 ซึ่งจะคิดตามปริมาณขยะที่ทิ้ง ช่วยกระตุ้นให้คนลดปริมาณขยะเปียกและขยะทั่วไปลงอย่างจริงจัง ขณะเดียวกัน โครงการยังช่วยลดภาระการขนส่งขยะไปฝังกลบในจังหวัดใกล้เคียง และส่งเสริมให้เกิดระบบการจัดการขยะหมุนเวียนภายในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างยั่งยืนอีกด้วย

แนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรม “มือวิเศษสัญจร x บ้านนี้ไม่เทรวม” คือการส่งเสริมให้เกิดการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยเฉพาะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ในระบบทั่วไป เช่น พลาสติกบรรจุภัณฑ์ พลาสติกแก้วเครื่องดื่ม ซองขนม ฟิล์มห่อ หรือถุงพลาสติกบาง ฯลฯ ซึ่งเมื่อนำมาแยกและจัดเก็บอย่างถูกวิธีจะสามารถนำไปอัพไซเคิลหรือแปรรูปเป็นขยะเชื้อเพลิง (RDF) ได้ภายในกรุงเทพมหานครโดยตรง ช่วยลดภาระการขนส่งขยะไปฝังกลบในจังหวัดใกล้เคียงอย่างกาญจนบุรี นครปฐม และฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางหลักของขยะจากกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนจากการขนส่ง ลดการใช้พื้นที่ฝังกลบ และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะภายในเมือง กิจกรรมนี้จึงถือเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างมูลค่าให้กับขยะ และขับเคลื่อนกรุงเทพฯ สู่เป้าหมาย Zero Waste อย่างเป็นรูปธรรม

:    12
:      10,000.00

:         เกศทิพย์ หาญณรงค์ (Founder and CEO)


สร้างความตระหนักรู้ เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทางให้กับชุมชนโดยเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชน-ภาครัฐ-ภาคเอกชน ในการจัดการขยะอย่างยั่งยืน

Goal 11: Sustainable Cities and Communities
Goal 11: Sustainable Cities and Communities

11.6 By 2030, reduce the adverse per capita environmental impact of cities, including by paying special attention to air quality and municipal and other waste management

ส่งเสริมพฤติกรรมคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง โดยเน้นพลาสติกที่ยากต่อการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณขยะที่เข้าสู่หลุมฝังกลบ และขยะที่อาจหลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อม

Goal 12: Responsible Consumption and Production
Goal 12: Responsible Consumption and Production

12.5 By 2030, substantially reduce waste generation through prevention, reduction, recycling and reuse

นำขยะไปอัพไซเคิล เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อขยายผลเศรษฐกิจหมุนเวียน

Goal 17: Partnerships to achieve the Goal
Goal 17: Partnerships to achieve the Goal

17.14 Enhance policy coherence for sustainable development




   

ผู้อาศัยอยู่ในกทม.

    ผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครถือเป็นหัวใจสำคัญของกิจกรรม “มือวิเศษสัญจร x บ้านนี้ไม่เทรวม” เพราะเป็นผู้กำหนดพฤติกรรมการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง หากประชาชนในแต่ละบ้านเรียนรู้และเริ่มคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะขยะรีไซเคิลและขยะพลาสติกที่รีไซเคิลยาก ก็จะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบได้อย่างมีนัยสำคัญ กิจกรรมนี้จึงออกแบบมาเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยเห็นความเชื่อมโยงระหว่าง “การแยกขยะที่บ้าน” กับ “ผลกระทบต่อเมือง” พร้อมเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรม เห็นผลลัพธ์ของการกระทำ และร่วมเป็นกำลังสำคัญในการเปลี่ยนระบบจัดการขยะของกรุงเทพฯ ให้เกิดขึ้นจริงจากระดับครัวเรือน
   
    
     ผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ คือผู้มีบทบาทสำคัญในการเริ่มต้นจัดการขยะที่ต้นทาง แต่ยังคงเผชิญกับปัญหาเรื่องความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกที่ถูกต้อง โดยเฉพาะพลาสติกที่รีไซเคิลยาก หลายคนยังรู้สึกว่า “แยกไปก็ไม่มีประโยชน์” เนื่องจากไม่เห็นปลายทางของขยะที่คัดแยก อีกทั้งยังขาดช่องทางและแรงจูงใจในการส่งต่อขยะเหล่านั้นอย่างเหมาะสม กิจกรรม “มือวิเศษสัญจร” จึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่ช่วยให้ประชาชนได้เรียนรู้ เห็นผลลัพธ์ของการแยกขยะ และมีส่วนร่วมกับระบบการจัดการขยะของเมืองอย่างจับต้องได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่กรุงเทพมหานครกำลังจะปรับค่าธรรมเนียมการจัดการขยะตามปริมาณในปี 2568 ซึ่งจะยิ่งส่งเสริมให้ประชาชนหันมาคัดแยกและลดขยะลงอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม ความท้าทายคือการทำให้พฤติกรรมที่ดีเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ซึ่งต้องอาศัยระบบปลายทางที่ชัดเจน ความโปร่งใสในการจัดการ และแรงจูงใจที่ทำให้คนรู้สึกว่าการแยกขยะของตน “มีความหมายและมีผลลัพธ์จริง” ต่อเมืองที่ตนอาศัยอยู่ อีกทั้งยังมีความท้าทายเชิงนโยบายในการผลักดันกฎหมายหรือข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครให้มีผลบังคับใช้จริง เพื่อให้เกิดการคัดแยกขยะที่ต้นทางจากครัวเรือนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในระดับเมือง

กิจกรรม “มือวิเศษสัญจร” ทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน ณ ศาลาว่าการกทม. ดินแดง เน้นการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง แสดงตัวอย่างปลายทางของขยะที่คัดแยกได้จริง และเปิดจุดรับขยะจากครัวเรือนเพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าขยะที่แยกมีคุณค่า

ประชาชนได้รับความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง และเข้าใจปลายทางของขยะที่แยกได้

  
สัดส่วนของขยะมูลฝอย (MSW) ที่มีการจัดเก็บและจัดการในสถานที่ที่มีการควบคุม ต่อปริมาณขยะมูลฝอยรวม จำแนกตามเมือง / Proportion of municipal non-hazardous waste collected and managed in controlled facilities out of total municipal waste generated, by cities

0 ตัน

200 ตัน

กิจกรรม “มือวิเศษสัญจร” ทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน ณ ศาลาว่าการกทม. ดินแดง เน้นการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง แสดงตัวอย่างปลายทางของขยะที่คัดแยกได้จริง และเปิดจุดรับขยะจากครัวเรือนเพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าขยะที่แยกมีคุณค่า

มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมและนำขยะมาส่งจริงอย่างต่อเนื่อง

  




กิจกรรม “มือวิเศษสัญจร” ทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน ณ ศาลาว่าการกทม. ดินแดง เน้นการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง แสดงตัวอย่างปลายทางของขยะที่คัดแยกได้จริง และเปิดจุดรับขยะจากครัวเรือนเพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าขยะที่แยกมีคุณค่า

มีปริมาณขยะที่คัดแยกสะอาดและสามารถนำไปจัดการต่อได้อย่างเหมาะสม (เช่น อัพไซเคิลหรือเป็นเชื้อเพลิง)

  




กิจกรรม “มือวิเศษสัญจร” ทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน ณ ศาลาว่าการกทม. ดินแดง เน้นการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง แสดงตัวอย่างปลายทางของขยะที่คัดแยกได้จริง และเปิดจุดรับขยะจากครัวเรือนเพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าขยะที่แยกมีคุณค่า

เกิดการสื่อสารสาธารณะผ่านสื่อออนไลน์ของผู้ร่วมกิจกรรม ทำให้เกิดการรับรู้และขยายผลสู่ครัวเรือนอื่น

  




กิจกรรม “มือวิเศษสัญจร” ทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน ณ ศาลาว่าการกทม. ดินแดง เน้นการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง แสดงตัวอย่างปลายทางของขยะที่คัดแยกได้จริง และเปิดจุดรับขยะจากครัวเรือนเพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าขยะที่แยกมีคุณค่า

มีข้อมูลพฤติกรรมและข้อเสนอแนะจากประชาชนเพื่อนำไปปรับปรุงระบบการจัดการขยะของเมือง

  




กิจกรรม “มือวิเศษสัญจร” ทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน ณ ศาลาว่าการกทม. ดินแดง เน้นการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง แสดงตัวอย่างปลายทางของขยะที่คัดแยกได้จริง และเปิดจุดรับขยะจากครัวเรือนเพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าขยะที่แยกมีคุณค่า

เกิดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องจากประชาชนในการคัดแยกและนำขยะมาส่ง ช่วยสร้างแรงสนับสนุนให้ระบบจัดการขยะต้นทางขยายผลได้ในระยะยาว

  





  • ส่งเสริมพฤติกรรมคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง โดยเน้นพลาสติกที่ยากต่อการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณขยะที่เข้าสู่หลุมฝังกลบ และขยะที่อาจหลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อม

ประชาชนได้รับความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง และเข้าใจปลายทางของขยะที่แยกได้

ประชาชนเริ่มคัดแยกขยะอย่างถูกต้องที่บ้านมากขึ้น และเชื่อมั่นว่าขยะที่แยกมีคุณค่าและถูกจัดการอย่างเหมาะสม

  





  • สร้างความตระหนักรู้ เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทางให้กับชุมชนโดยเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชน-ภาครัฐ-ภาคเอกชน ในการจัดการขยะอย่างยั่งยืน

ประชาชนได้รับความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง และเข้าใจปลายทางของขยะที่แยกได้

ขยะที่ถูกคัดแยกสามารถนำไปแปรรูปหรือใช้ประโยชน์ได้จริง ช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องฝังกลบ และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบจัดการขยะหมุนเวียนในกรุงเทพฯ

  





  • นำขยะไปอัพไซเคิล เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อขยายผลเศรษฐกิจหมุนเวียน

มีปริมาณขยะที่คัดแยกสะอาดและสามารถนำไปจัดการต่อได้อย่างเหมาะสม (เช่น อัพไซเคิลหรือเป็นเชื้อเพลิง)

เกิดการขยายพฤติกรรมการคัดแยกขยะไปยังครัวเรือนอื่นผ่านการบอกต่อและการสื่อสารออนไลน์ ช่วยสร้างแรงกระเพื่อมในสังคมและขยายผลของกิจกรรมสู่วงกว้างอย่างเป็นธรรมชาติ

  





  • สร้างความตระหนักรู้ เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทางให้กับชุมชนโดยเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชน-ภาครัฐ-ภาคเอกชน ในการจัดการขยะอย่างยั่งยืน
  • ส่งเสริมพฤติกรรมคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง โดยเน้นพลาสติกที่ยากต่อการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณขยะที่เข้าสู่หลุมฝังกลบ และขยะที่อาจหลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อม

เกิดการสื่อสารสาธารณะผ่านสื่อออนไลน์ของผู้ร่วมกิจกรรม ทำให้เกิดการรับรู้และขยายผลสู่ครัวเรือนอื่น

กรุงเทพมหานครและภาคีเครือข่ายสามารถนำข้อมูลจริงจากประชาชนไปปรับปรุงนโยบายหรือระบบการจัดการขยะให้ตอบโจทย์การใช้งานและพฤติกรรมในชีวิตจริงได้ดียิ่งขึ้น

  





  • นำขยะไปอัพไซเคิล เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อขยายผลเศรษฐกิจหมุนเวียน

มีข้อมูลพฤติกรรมและข้อเสนอแนะจากประชาชนเพื่อนำไปปรับปรุงระบบการจัดการขยะของเมือง


   

ประชาชนในพื้นที่หลุมขยะในจังหวัดกาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา และนครปฐม

    ประชาชนในพื้นที่หลุมฝังกลบของจังหวัดกาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา และนครปฐม ถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบทางตรงจากระบบจัดการขยะของกรุงเทพมหานคร เนื่องจากขยะจาก กทม. จำนวนมหาศาลที่ไม่สามารถจัดการภายในพื้นที่เมืองได้ จะถูกขนส่งไปกำจัดในจังหวัดเหล่านี้ โดยเฉพาะขยะเปียก ขยะรีไซเคิลไม่ได้ และขยะพลาสติกหลากชนิดที่ปะปนกัน ส่งผลให้ชุมชนโดยรอบหลุมฝังกลบต้องเผชิญกับปัญหาทางสิ่งแวดล้อม เช่น กลิ่นเหม็น น้ำเสีย ดินปนเปื้อน รวมถึงผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการเผา หรือการรั่วไหลของของเสียที่จัดการไม่สมบูรณ์ ในสถานะปัจจุบัน ชาวบ้านในพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่มักไม่มีอำนาจต่อรองหรือข้อมูลเพียงพอที่จะปกป้องตนเองจากผลกระทบระยะยาว ขณะเดียวกัน หลุมฝังกลบจำนวนมากมีอายุการใช้งานใกล้เต็มขีดจำกัด การรับขยะจากเมืองใหญ่จึงไม่ยั่งยืนในระยะยาว หากกรุงเทพฯ ยังไม่มีระบบการแยกขยะและลดปริมาณขยะตั้งแต่ต้นทาง พวกเขาจะยังคงต้องเป็น “ปลายทางจำยอม” ของขยะจากเมืองต่อไป การจัดกิจกรรมอย่าง “มือวิเศษสัญจร” และการส่งเสริมระบบคัดแยกในกรุงเทพฯ จึงไม่เพียงเป็นการพัฒนาระบบภายในเมืองหลวงเท่านั้น แต่ยังเป็นการลดภาระที่คนต่างจังหวัดต้องแบกรับ ทั้งในแง่สิ่งแวดล้อมและความเหลื่อมล้ำในการใช้ทรัพยากรและพื้นที่เพื่อรองรับของเสียจากเมืองใหญ่
   
    
     ประชาชนในพื้นที่รอบหลุมฝังกลบของจังหวัดเหล่านี้ต้องเผชิญกับปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะจากกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นเหม็น น้ำใต้ดินปนเปื้อน ฝุ่นควันจากการเผา หรือมลพิษสะสมที่อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งที่พวกเขาไม่ได้เป็นผู้ก่อขยะโดยตรง นอกจากนี้ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูล หรือการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ส่งเข้าพื้นที่ตนเอง อย่างไรก็ตาม หากกรุงเทพฯ สามารถพัฒนาระบบคัดแยกขยะและแปรรูปขยะเชื้อเพลิงภายในเมืองได้อย่างจริงจัง ก็จะเป็นโอกาสในการลดปริมาณขยะที่ต้องขนส่งออกนอกพื้นที่ และลดภาระของชุมชนเหล่านี้ในระยะยาว ความท้าทายคือ การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมในเมืองหลวง ซึ่งชาวบ้านเองไม่มีอำนาจโดยตรง แต่ต้องรับผลกระทบแทนจากระบบจัดการขยะที่ยังไม่ยั่งยืนของเมืองใหญ่

ในการดำเนินกิจกรรม “มือวิเศษสัญจร x YOLO” โยโลมุ่งลดปริมาณขยะจากกรุงเทพฯ ที่ต้องส่งไปยังหลุมฝังกลบในจังหวัดกาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา และนครปฐม ด้วยการส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทางและจัดการขยะภายในเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านกระบวนการอัพไซเคิลหรือแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงทดแทน ซึ่งช่วยลดภาระและผลกระทบต่อชุมชนปลายทางโดยตรง แม้ประชาชนในจังหวัดเหล่านี้จะไม่ได้ร่วมกิจกรรมโดยตรง แต่สามารถมีส่วนร่วมโดยการส่งเสียงสะท้อนผ่านช่องทางสาธารณะ สนับสนุนภาคประชาสังคม และร่วมผลักดันให้เกิดระบบจัดการขยะอย่างยั่งยืนในระดับนโยบาย ในทางกลับกัน ชุมชนเหล่านี้ยังสามารถช่วยสนับสนุนโยโลได้ด้วยการร่วม แชร์และโปรโมทกิจกรรมของโครงการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อขยายการรับรู้และสร้างแรงสนับสนุนจากสาธารณะต่อระบบการจัดการขยะที่เป็นธรรมทั้งต้นทางและปลายทาง