รู้จักเครื่องมือการวัดผลและการจัดการผลกระทบ (Impact Measurement and Management - IMM)

< กลับไปหน้าหลัก

รู้จักเครื่องมือการวัดผลและการจัดการผลกระทบ (Impact Measurement and Management - IMM)

IMM คืออะไร?

การวัดผลและการจัดการผลกระทบคือการพิจารณาถึงผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบที่ธุรกิจมีต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม จากนั้นจึงหาวิธีลดผลกระทบเชิงลบและเพิ่มผลกระทบเชิงบวกเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย1.

วัตถุประสงค์ในการทำ IMM

สำหรับภายในองค์กร:

  • เพื่อกำหนดทิศทางในการวัดผลลัพธ์
  • เพื่อประเมินความก้าวหน้าโครงการ

สำหรับภายนอกองค์กร:

  • เพื่อรายงานผลลัพธ์ไปยังผู้สนับสนุน/นักลงทุน
  • เพื่อสร้างความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือ
  • เพื่อการประชาสัมพันธ์

ขั้นตอนของการทำ IMM

1. ทำความเข้าใจผลกระทบและ IMM

ทำความเข้าใจแนวคิดเรื่องความยั่งยืน ผลกระทบ การวัดผลลัพธ์ การจัดการผลกระทบ และกำหนดเป้าหมายองค์กรในการสร้างผลกระทบ

2. ระบุและมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด และทำความเข้าใจว่าจะมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกขั้นตอนได้อย่างไร

3. จัดลำดับความสำคัญของผลกระทบ

วิเคราะห์ความมีนัยสำคัญ (materiality analysis) จัดลำดับความสำคัญของเป้าหมาย SDGs ในทุกขั้นตอน และระบุเป้าหมายผลกระทบ

4. วางแผนสำหรับผลกระทบ

จัดทำห่วงโซ่คุณค่าผลลัพธ์ (Impact Value Chain) เลือกตัวชี้วัดสำหรับการวัดผล และกำหนดข้อมูลพื้นฐาน (baseline) และเป้าหมาย

5. การวัดผลกระทบและบูรณาการผลกระทบไว้ในแนวปฏิบัติขององค์กร

การติดตามผลลัพธ์และเก็บรวบรวมข้อมูล; การบูรณาการเป้าหมาย SDGs และผลกระทบไว้ในแนวปฏิบัติขององค์กร; การจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบ และเสริมสร้างความมุ่งมั่นขององค์กรในการสร้างผลกระทบผ่านแนวทางปฏิบัติด้านธรรมาภิบาล

6. รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับผลกระทบ

ความเชื่องโยงระหว่าง IMM กับกรอบมาตรฐาน SDG Impact Standards

กรอบมาตรฐาน SDG Impact Standardsได้รับการพัฒนาโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เพื่อให้ความรู้แก่องค์กรภาคเอกชนเกี่ยวกับวิธีการบูรณาการเป้าหมาย SDGs เข้ากับกระบวนการตัดสินใจทางธุรกิจและการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ดำเนินงานได้อย่างยั่งยืนและสร้างผลลัพธ์เชิงบวกตามเป้าหมาย SDGs

กรอบมาตรฐาน SDG Impact Standards คือมาตรฐานที่ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้ภาษาที่เหมาะสมและมีแนวทางสำหรับการบูรณาการจัดการผลกระทบและเป้าหมาย SDGs ให้เข้ากับการตัดสินใจขององค์กร มาตรฐานดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อที่เชื่อมโยงกัน ได้แก่ กลยุทธ์ แนวทางการจัดการ ความโปร่งใส และการกำกับดูแล (อ่านต่อ)

  • มาตรฐานที่ 1 (กลยุทธ์): ปลูกฝังแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป้าหมาย SDGs ไว้ในวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของค์กร
  • มาตรฐานที่ 2 (แนวทางการจัดการ): นำแนวปฏิบัติขององค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมไปใช้ในการจัดการองค์กรและกระบวนการตัดสินใจ
  • มาตรฐานที่ 3 (ความโปร่งใส): ให้ความสำคัญด้านความโปร่งใสเพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • มาตรฐานที่ 4 (การกำกับดูแล): ตระหนักว่าการกำกับดูแลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ

การวัดผลและการจัดการผลกระทบถือเป็นพื้นฐานของแนวทางและหลักการที่ระบุไว้ใน SDG Impact Standards ซึ่งมีกรอบการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถประเมินและจัดการผลกระทบตามเป้าหมายของ SDGs

IMM steps

Impact Flow เชื่อมโยงกับผลกระทบห้ามิติในการจัดการผลกระทบของ Impact Management Project อย่างไร?

ผลกระทบทั้งห้ามิติได้รับการพัฒนาโดย Impact Management Project (IMP) เพื่อเป็นชุดบรรทัดฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกเกี่ยวกับวิธีการทำความเข้าใจ จัดการ และสื่อสารผลกระทบ ผลกระทบทั้งห้ามิติ ได้แก่ อะไร ใคร เท่าไร การมีส่วนร่วม และความเสี่ยง ซึ่งประกอบกันเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับกรอบการจัดการผลกระทบขององค์กร (อ่านต่อ)

สำหรับ IMM นั้น Impact Flow ได้รวบรวมมิติเหล่านี้ไว้เพื่อส่งเสริมการสื่อสารผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มิติในการจัดการผลกระทบ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Impact Flow

อะไร

สรุปผลลัพธ์ที่องค์กรมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ และความสำคัญของผลลัพธ์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบจากผลลัพธ์นั้น

  • เป้าหมายผลกระทบ
  • ผลลัพธ์ (แบบจำลองผลกระทบ)

ใคร

ระบุผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมขององค์กร

  • ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

เท่าไหร่

บันทึกขอบเขตของผลกระทบในมุมของขอบเขต และระยะเวลา

  • จำนวน: จำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากผลลัพธ์
  • ขอบเขต: ระดับของการเปลี่ยนแปลงในระดับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • ระยะเวลา: ช่วงเวลาที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับผลกระทบจากผลลัพธ์
  • เป้าหมายผลกระทบ
  • ตัวชี้วัดผลกระทบ (แบบจำลองผลกระทบ)

การมีส่วนร่วม

ประเมินว่าการทำกิจกรรมขององค์กรมีส่วนทำให้บรรลุผลสำเร็จได้มากน้อยเพียงใด เนื่องจากอาจมีหลายองค์กรและโครงการที่เอื้อให้เกิดผลลัพธ์เดียวกัน การทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบที่องค์กรดำเนินงานอยู่ จะช่วยให้ทุกองค์กรสามารถทำงานอย่างเป็นระบบร่วมกันเพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลจากการมีส่วนร่วมขององค์กรสามารถประเมินได้จากความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและข้อมูลจากการวิจัยตลาด

ความเสี่ยง

ระบุความเสี่ยงที่องค์กรเผชิญระหว่างการสร้างผลกระทบซึ่งอาจทำให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนไปจากที่ตั้งไว้ แล้วจึงควรกำหนดขั้นตอนในการประเมินและลดความเสี่ยงเหล่านี้

  • การวิเคราะห์ความเสี่ยงในผลลัพธ์ (Impact value chain)


ทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบ

ผลกระทบหมายถึงผลลัพธ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง (Outcome) ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงความเป็นอยู่ที่ดีของกลุ่มคนหรือสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมขององค์กร

ซึ่งผลกระทบอาจเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ เกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ และอาจเกิดได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม

การทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขตของ 'ผลกระทบ' เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมและสิ่งแวดล้อม และช่วยให้องค์กรจัดการกับผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก ซึ่งจะส่งผลต่อทั้งการกระทำและมุมมองเกี่ยวกับความสำเร็จขององค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย



ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) หรือ ประมวลเป้าหมายของโลก ได้รับการรับรองโดยรัฐสมาชิกของสหประชาชาติในปี 2558 เพื่อเรียกร้องให้ดำเนินการขจัดความยากจน ปกป้องสิ่งแวดล้อม และรับรองว่าประชาชนทุกคนจะได้รับสันติภาพและความรุ่งเรืองภายในปี 2573

SDGs มีเป้าหมายทั้งหมด 17 ข้อ ซึ่งครอบคลุมปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และสันติภาพและความยุติธรรม (อ่านเพิ่มเติม) โดย SDGs สามารถใช้ได้กับทุกประเทศ – ทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา และเกี่ยวข้องกับประชาชนทุกคน SDGs จึงนับเป็นแผนที่นำทางสู่อนาคตที่ประชาชนส่วนมากต้องการ

การปฏิบัติตามเป้าหมาย SDGs ช่วยกระตุ้นให้องค์กรต่างๆ ตระหนักถึงความเสี่ยงในการดำเนินงานและกลยุทธ์ขององค์กรที่อาจส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนในระยะยาว ในขณะเดียวกัน ก็เปิดโอกาสทางการตลาดใหม่ ๆ เนื่องจากลูกค้า (โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่) มีแนวโน้มที่จะสนับสนุนแบรนด์ที่แสดงเจตนาดี นอกจากนั้น การลงทุนอย่างรับผิดชอบต่อสังคมได้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสการลงทุนอย่างมหาศาลให้กับองค์กรที่ตั้งใจและปฏิบัติตามเป้าหมาย SDGs

นอกจากนี้ เนื่องจากเป้าหมาย SDGs ถือเป็นกรอบผลกระทบที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก การตั้งผลกระทบให้สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถสื่อสารด้านการมีส่วนร่วมในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในภาษาที่เข้าใจกันในระดับสากล โดยไม่ต้องคำถึงถึงเรื่องเขตแดน วัฒนธรรม และอุตสาหกรรม

อ้างอิงจากรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2022 ประเทศไทยได้อันดับตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Index Rank) ที่ 44 จาก 163 ประเทศ และมีคะแนนรวมอยู่ที่ 74.13/100 ภาพด้านล่างแสดงให้เห็นถึงสถานะล่าสุดของประเทศไทยในแต่ละเป้าหมาย SDG ว่ามีความก้าวหน้าตามแผน, ก้าวหน้าเล็กน้อย, เท่าเดิม หรือ ลดลง

SDG goals Thailand's SDG progress

การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ในบริบทของการวัดผลและการจัดการผลกระทบ (IMM) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหมายถึง บุคคล กลุ่ม องค์กร หรือหน่วยงานที่มีผลประโยชน์หรือได้รับผลจากผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากธุรกิจ, การลงทุน หรือโครงการ

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจเป็นได้ทั้งภายในหรือภายนอกองค์กร ตัวอย่าง เช่น:

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกองค์กร
  • พนักงาน
  • ผู้บริหาร
  • ผู้ถือหุ้น
  • ผู้จัดจำหน่าย
  • ลูกค้า
  • สมาชิกชุมชน
  • หน่วยงานกำกับดูแล
  • ประชาชน
  • ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วิธีในการระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้

1) อ้างอิงจากเป้าหมายผลกระทบและปัญหาที่ต้องการแก้ไข

เป้าหมายผลกระทบที่ตั้งไว้เมื่อเริ่มต้นกระบวนการ IMM ควรจะให้ข้อมูลพื้นฐานได้ว่าใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ หากมองจากมุมมองของปัญหาที่ต้องการแก้ไขหรือส่วนที่เห็นว่าควรมีการเปลี่ยนแปลง ให้วิเคราะห์เพิ่มเติมว่าใครควรมีส่วนร่วมเพิ่มเติมและใครจะได้รับผลกระทบจากกิจกรรมที่เกิดขึ้น

2) อ้างอิงจากกระบวนการทั้งหมดในการดำเนินงาน (value chain)

การวางแผนกระบวนการทั้งหมดในการดำเนินงานตั้งแต่การจัดหาฐานผลิต การขนส่งขาเข้า ตลอดจนการผลิตและการดำเนินงาน ไปจนถึงการจัดจำหน่าย การใช้สินค้า และ การจัดการสินค้าหลังการใช้งาน อาจเป็นประโยชน์ต่อการระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง รูปภาพต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนสำคัญและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งหมดในการดำเนินงาน

Porter's value chain analysis

ควรระบุถึงกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการทั้งหมดในการดำเนินงานเพื่อให้ได้มุมมองที่ครอบคลุมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างของกระบวนการทั้งหมดในการดำเนินธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักที่อาจได้รับผลกระทบในแต่ละกระบวนการ (SEC and UNDP. SDG Guidebook for Thai Listed Companies. p.22)

Example of a business value chain and stakeholders

3) ระบุผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบจากทั้งทางตรงและทางอ้อม

โดยทั่วไปแล้วจะเห็นได้ชัดว่าใครคือผู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากกิจกรรม ดังนั้น จึงควรมองหากลุ่มที่อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมทั้งเชิงบวกหรือเชิงลบด้วย กลุ่มดังกล่าวมักจะมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงก็มักจะส่งผลกระทบต่อพวกเขาเช่นกัน



การวิเคราะห์ความมีนัยสำคัญ

เนื่องจากกิจกรรมที่ทำมักจะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันสำหรับผู้ได้รับประโยชน์แต่ละราย ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับองค์กรในการรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ทั้งหมด การวิเคราะห์ความมีนัยสำคัญจะช่วยให้องค์กรแยกแยะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในการวิเคราะห์ ตลอดจนผลลัพธ์และผลกระทบที่สำคัญที่สุดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและองค์กร

ความมีนัยสำคัญจะถูกกำหนดโดยความเกี่ยวข้องและความสำคัญเป็นหลัก

ความเกี่ยวข้อง - ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งต่อไปนี้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรในระดับใด

  • ใครได้รับผลกระทบจากผลลัพธ์บ้าง?
  • พวกเขาได้รับผลกระทบอะไรบ้าง?

ความสำคัญ - ประเมินตามขนาดของผลลัพธ์

  • มีกี่คนที่ (หรือจะ) เปลี่ยนไป?
  • การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด (หรือคาดว่าจะเกิดขึ้น) ในแต่ละคน และนานเท่าใด?
  • การเปลี่ยนแปลงเป็นผลจากกิจกรรมมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับปัจจัยอื่นๆ?
  • ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพิจารณาว่าผลลัพธ์เป็นผลบวกในระดับใด มีเกณฑ์ที่กำหนดความสำคัญหรือไม่?

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความมีนัยสำคัญอีกด้วย เช่น

  • ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมองว่าผลลัพธ์มีความสำคัญต่อพวกเขา
  • องค์กรมีนโยบายที่จะรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/ผลลัพธ์ไว้ด้วย
  • บรรทัดฐานทางสังคมต้องการให้มี
  • มีผลกระทบทางการเงินต่อองค์กรหากไม่ได้รวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/ผลลัพธ์ในการวิเคราะห์
(อ่านเพิ่มเติม)



เลือกตัวชี้วัดสำหรับการวัดและติดตามผลลัพธ์

ระบุตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องมากที่สุดสำหรับผลผลิตและผลลัพธ์แต่ละรายการ ซึ่งเป็นไปได้ที่จะมีตัวชี้วัดหลายตัวสำหรับผลลัพธ์เดียวกัน ดังนั้นให้เลือกตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงผลกระทบมากที่สุด และมีค่าใช้ที่สมเหตุสมผลในการรวบรวมข้อมูล

โดยตัวชี้วัดที่เลือก ให้ระบุแหล่งที่มาของข้อมูล ช่วงเวลาในการรวบรวม และผู้รับผิดชอบสำหรับแต่ละตัวชี้วัด

แหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัดบางส่วนเพื่อใช้สำหรับอ้างอิง มีดังนี้

ตัวชี้วัดระดับสากล:

ตัวชี้วัดของประเทศไทย:



แบบจำลองผลกระทบ

แบบจำลองผลกระทบช่วยให้เห็นกรอบการทำงานที่แสดงให้เห็นว่าผลกระทบถูกสร้างขึ้นอย่างไร โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปว่ากิจกรรม ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบเชื่อมโยงกันอย่างเป็นเหตุเป็นผลอย่างไร และเป็นพื้นฐานสำหรับการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

การเริ่มต้นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะช่วยในการตรวจสอบว่าความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, กิจกรรมที่จะดำเนินการ และผลลัพธ์ที่คาดหวังนั้นสอดคล้องกันทั้งหมดหรือไม่

องค์ประกอบสำคัญของแบบจำลองผลกระทบมีดังนี้

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กิจกรรม ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ
ความหมาย บุคคลหรือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากกิจกรรมที่จัดขึ้น รวมถึงผู้ที่อาจมีส่วนร่วมในโครงการ และ/หรือมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ของโครงการ ไม่ว่าจะเชิงบวกหรือเชิงลบ กิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งกิจกรรมที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องมีส่วนร่วม ผลลัพธ์ระยะสั้นหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทันทีตามกิจกรรมที่ระบุไว้ ผลลัพธ์ที่คาดหวังได้ในระยะกลางถึงระยะยาว ซึ่งเป็นผลจากผลลัพธ์ที่ระบุไว้ ผลกระทบสูงสุดที่องค์กรมุ่งหวังที่จะบรรลุหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้


กรอบแนวคิดของ Impact Flow ตามธีมของผลกระทบที่แตกต่างกัน (ตัวอย่าง)

ธีมผลกระทบ เกษตรกรรมยั่งยืน การศึกษา สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
ปัญหา การทำการเกษตรอย่างไม่ยั่งยืนโดยใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมากเกินไป ส่งผลให้ดินเสื่อมโทรม สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งผลเสียต่อความมั่นคงทางอาหารและรายได้ในระยะยาว เยาวชนออกจากโรงเรียนกลางคันเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ในขณะเดียวกันก็ขาดทักษะในการทำงานเพื่อประกอบอาชีพ ผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจนมักประสบปัญหาในการเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานและไม่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงด้านสุขภาพ
วิธีการแก้ปัญหา ส่งเสริมเกษตรกรให้ได้รับความรู้และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเปลี่ยนไปสู่การทำการเกษตรอย่างยั่งยืนและช่วยเชื่อมโยงพวกเขากับตลาด จัดให้มีการฝึกอบรมทักษะวิชาชีพตามความสนใจของเยาวชนและช่วยจัดหางานหรือสนับสนุนให้ประกอบอาชีพอิสระ อำนวยความสะดวกในการจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครในพื้นที่และเสริมสร้างองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุในมิติต่างๆ เช่น สุขภาพกายและใจ การเข้าถึงสวัสดิการสังคม การปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เป็นต้น
เป้าหมายผลกระทบ
  • ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้และจัดการอย่างยั่งยืน
  • ส่งเสริมให้เกษตรกรมีฐานะทางการเงินและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
เยาวชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ด้วยการจ้างงานและรายได้ที่มั่นคง ผู้สูงอายุด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานและความช่วยเหลือในยามจำเป็น พร้อมความรู้ในการดูแลตนเองซึ่งช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ
SDGs ที่เกี่ยวข้อง
SDG#2SDG#3SDG#15

2.2, 2.4, 3.9, 15.5

SDG#4SDG#8

4.4, 8.5, 8.6

SDG#3

3.4, 3c

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • เกษตรกร
  • ชุมชนท้องถิ่น
  • สิ่งแวดล้อม
  • เยาวชน
  • ครอบครัวของเยาวชน
  • ชุมชนท้องถิ่น
  • ผู้สูงอายุด้อยโอกาส
  • อาสาสมัครชุมชน
กิจกรรมที่ทำ
  • ให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน
  • ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องระหว่างโครงการ
  • สนับสนุนให้เกษตรกรได้รับปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง
  • การรับรองแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน
  • เชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรไปยังผู้บริโภค/ผู้แปรรูปอาหาร
  • ประเมินความสนใจของเยาวชน
  • จัดให้มีการฝึกอบรมทักษะวิชาชีพ
  • ดำเนินการจัดหางาน
  • จัดให้มีเงินสนับสนุน/เงินกู้ เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจ
  • ประเมินความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชน
  • จัดหาอาสาสมัครภายในชุมชน
  • ฝึกอบรมอาสาสมัครเกี่ยวกับความรู้และเทคนิคพื้นฐานในการดูแลผู้สูงอายุ
  • มอบหมายให้อาสาสมัครตรวจสุขภาพผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอและให้ความรู้ผู้สูงอายุในการดูแลตนเอง
  • พัฒนาระบบการทำงานหลังบ้านเพื่อส่งเสริมการทำงานของอาสาสมัคร
ผลผลิต
  • การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในครั้งแรก
  • พื้นที่การเกษตรได้รับการจัดการด้วยแนวทางการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน
  • เยาวชนมีทักษะการทำงานที่จำเป็นต่อการจ้างงาน
  • เยาวชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเพื่อการประกอบอาชีพอิสระ
  • อาสาสมัครที่ได้รับการคัดเลือกและฝึกอบรม
  • มีระบบสนับสนุนเพื่อรองรับการทำงานของอาสาสมัคร
ผลลัพธ์
  • เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
  • มีสุขภาพดีขึ้น
  • มีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น
  • คุณภาพดินดีขึ้น
  • เยาวชนมีความมั่นคงและมีอาชีพ
  • เยาวชนมีรายได้ที่มั่นคง
  • เยาวชนสามารถพึ่งพาตนเองได้
  • ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ให้บริการโดยอาสาสมัคร
  • ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองเบื้องต้นและพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว
  • ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงด้านสุขภาพลดลง
ตัวชี้วัด
  • จำนวนเกษตรกรที่มุ่งมั่นในแนวทางการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน
  • พื้นที่เพาะปลูกในโครงการ
  • รายได้เพิ่มขึ้น
  • คุณภาพดินดีขึ้น
  • จำนวนเยาวชนที่ได้รับการอบรม
  • จำนวนเยาวชนที่มีงานทำ
  • จำนวนเยาวชนที่มีงานทำมากกว่า 3 เดือน
  • จำนวนเยาวชนที่เริ่มต้นธุรกิจของตนเอง
  • รายได้เพิ่มขึ้น
  • จำนวนอาสาสมัครที่ได้รับคัดเลือกและฝึกอบรม
  • จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลโดยอาสาสมัคร
  • ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีขึ้นในมิติต่างๆ