จัดตั้งเมื่อปีพ.ศ.2562 เกิดจากการรวมตัวของธุรกิจเพื่อสังคมทั่วประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายในการผสานความร่วมมือระหว่างสมาชิก และระหว่างสมาชิกกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจเพื่อสังคมประสบความสำเร็จในการประกอบการ ควบคู่กับการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการขยายผลการแก้ไขปัญหาในวงกว้างยิ่งขึ้นไป นอกจากนี้ สมาคมยังสนับสนุนการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อสังคมให้กับสาธารณชนทั่วไป
ในประเทศไทยมีประเด็นทางสังคมจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ในขณะเดียวกันก็มีผู้ประกอบการทางสังคมจากทั่วทุกภูมิภาคที่กำลังพัฒนาธุรกิจของตนเองเพื่อให้ตอบโจทย์ประเด็นทางสังคมต่างๆ เช่น ประเด็นผู้สูงอายุ ประเด็นสิ่งแวดล้อม ประเด็นผู้พิการ เป็นต้น แต่พวกเขาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทั้งในด้านโอกาสการพัฒนาต่อยอดธุรกิจและโอกาสในการเข้าถึงความรู้และสิทธิประโยชน์ต่างๆ
สมาคมธุรกิจเพื่อสังคมจึงมีวิธีดำเนินงานใน 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. สร้างความร่วมมือ เชื่อมโยง ธุรกิจเพื่อสังคมด้วยกันเองและกับองค์กรอื่น เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกสูงสุดต่อสังคม/สิ่งแวดล้อม 2. สื่อสารและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทยให้เกิดความรู้ที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ได้จริงสำหรับผู้ประกอบการทางสังคม รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อสังคมให้กับสาธารณชน 3. ผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพื่อสังคม ผ่านการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ การแบ่งปันข้อมูล การรวมกลุ่ม และอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อน แก้ปัญหาและพัฒนาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ มีการบูรณาการและยั่งยืน
ระยะเวลา: 60 เดือน
งบประมาณ: 0.00 บาท
ทีม: ณฐกร อสุนี ณ อยุธยา
(ผู้จัดการทั่วไป)
วนัสนันท์ สุขมี
(เจ้าหน้าที่โครงการและสมาชิกสัมพันธ์)
บุรินทร์ เรือนแก้ว
( เจ้าหน้าที่ด้านการสร้างสรรค์และส่งเสริม)
ปาณิศา ทรงสิทธิโชค
(เจ้าหน้าที่ด้านผลกระทบและประสานงานระหว่างประเทศ)
สิริภัทรวิมล ชมภูวรโชคเจริญ
(เจ้าหน้าที่ธุรการและสร้างสรรค์เนื้อหา)
17.3 Mobilize additional financial resources for developing countries from multiple sources
17.6 Enhance North-South, South-South and triangular regional and international cooperation on and access to science, technology and innovation and enhance knowledge sharing on mutually agreed terms, including through improved coordination among existing mechanisms, in particular at the United Nations level, and through a global technology facilitation mechanism
17.9 Enhance international support for implementing effective and targeted capacity-building in developing countries to support national plans to implement all the sustainable development goals, including through North-South, South-South and triangular cooperation
17.14 Enhance policy coherence for sustainable development
17.16 Enhance the global partnership for sustainable development, complemented by multi-stakeholder partnerships that mobilize and share knowledge, expertise, technology and financial resources, to support the achievement of the sustainable development goals in all countries, in particular developing countries
17.19 By 2030, build on existing initiatives to develop measurements of progress on sustainable development that complement gross domestic product, and support statistical capacity-building in developing countries
ผู้มีส่วนได้เสียผู้ประกอบการทางสังคม |
||
คำอธิบาย ผู้ประกอบการทางสังคมที่เป็นสมาชิกของสมาคม
ประเภทผู้รับประโยชน์
ผู้รับประโยชน์ทางตรง
ระดับความสำคัญ สูง ปัญหา / โอกาส / ความท้าทายที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
||
กิจกรรม | ผลผลิต (ผลที่เกิดขึ้นทันที) | ผลลัพธ์ |
---|---|---|
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร จัดกิจกรรมให้ความรู้และสร้างเครือข่าย เชื่อมสมาชิกเข้ากับแหล่งทุน |
โอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร คลังความรู้ เครือข่าย และแหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้น
จำนวนเริ่ม
จำนวนเป้าหมาย จาก ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร จัดกิจกรรมให้ความรู้และสร้างเครือข่าย เชื่อมสมาชิกเข้ากับแหล่งทุน |
สามารถดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมของตนเองได้อย่างยั่งยืน
จำนวนเริ่ม
จำนวนเป้าหมาย
สอดคล้องกับเป้าหมาย
จาก โอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร คลังความรู้ เครือข่าย และแหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้น เสียงของผู้ประกอบการทางสังคมกว้างดังขึ้น
จำนวนเริ่ม
จำนวนเป้าหมาย
สอดคล้องกับเป้าหมาย
จาก โอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร คลังความรู้ เครือข่าย และแหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้น การสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเพิ่มขึ้น
จำนวนเริ่ม
จำนวนเป้าหมาย
สอดคล้องกับเป้าหมาย
จาก โอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร คลังความรู้ เครือข่าย และแหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้น |