< กลับไปหน้าหลัก

โครงการห้องเรียนสู้ฝุ่น

เผยแพร่

ภาพรวม

โครงการห้องเรียนสู้ฝุ่น มีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนว่า PM 2.5 สามารถสะสมในถุงลมฝอยของปอด และสามารถแทรกซึมเข้าสู่กระแสโลหิต และกระจายไปทั่วร่างกาย ซึ่งได้กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 5 ของประชากรโลกในปี 2558 นอกจากนี้ปี 2559 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศ 7 ล้านคน โดยเกิดจากมลพิษจากอากาศภายนอกอาคาร (Ambient Air) 4.2 ล้านคน โดยร้อยละ 91 เกิดในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิกตะวันตก สำหรับในประเทศไทยมีการรายงานการพบความเชื่อมโยงการได้รับสัมผัส PM2.5 และผลกระทบต่อการตายก่อนวัยอันควร โดยกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่ได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุ ดังนั้นเพื่อเป็นการรับมือกับสถานการณ์วิกฤตที่มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกับกลุ่มเสี่ยงอย่างกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อาศัยในพื้นที่มีการพบการเผาเป็นปริมาณมาก ตลอดจนพื้นที่ที่ประสบกับปัญหาหมอกควันข้ามแดนอยู่ประจำ ดังนั้นประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวต้องเผชิญกับการสะสมฝุ่นละอองขนาดเล็กในร่างกายเป็นประจำ ก่อให้เกิดการสะสมของสารพิษในร่างกายอันส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ จึงเป็นที่มาของโครงการ “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตราฐานเป็นประจำทุกปี โดยการพัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามบริบทของพื้นที่ ให้กับโรงเรียนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยโครงการนี้เป็นการบูรณาการความร่วมมือหลายภาคส่วนในพื้นที่เพื่อร่วมกันศึกษาและสร้างพื้นที่ต้นแบบในการับมือกับค่าฝุ่นวิกฤต รวมถึงการเสนอนโยบายฝุ่นกับภาคการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป การบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ ประกอบไปด้วย ห้างหุ้นส่วนจำกัด เติมเต็มวิสาหกิจเพื่อสังคม ภาคีเครือข่าย ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในพื้นที่ๆ เกี่ยวข้อง อาทิ หอการค้าประจำจังหวัด สภาอุตสาหกรรมประจำจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสภาลมหายใจในพื้นที่ ในการร่วมคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบในพื้นที่เสี่ยง โดยมุ่งหวังร่วมกันสร้างพื้นที่ต้นแบบในโรงเรียนในการรับมือกับฝุ่นในพื้นที่วิกฤต การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องฝุ่นและภัยของฝุ่นผ่านกระบวนการออกแบบชุดความรู้ที่สามารถใช้ในจริงในโรงเรียนโดยใช้วิธีการออกแบบชุดความรู้จากประสบการณ์จริงในการเผชิญฝุ่นละอองที่มีค่าเกินมาตรฐาน ผ่านการสื่อสารด้วยระบบ “ธงสุขภาพ” โดยยึดหลักการใช้สีธงตามระดับสีของค่าPM2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมาตรฐานของกรมอนามัยและ กรมควบคุมมลพิษเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยด้านสุขภาวะให้แก่นักเรียนในพื้นที่ที่จะสามารถปรับตัวและเพื่อเป็นการสร้างชุมชนพึ่งพาตนเองในยามที่เกิดวิกฤตด้านฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของตนเองได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับสื่อในพื้นที่ อาทิเช่น The North และ Thai PBS เพื่อร่วมกันสื่อสารการทำงานในพื้นที่ให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะร่วมกัน โดยมีกิจกรรมผลิตและเผยแพร่สื่อโครงการสร้างการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อสร้างตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพต่อภาวะวิกฤตฝุ่นละออง ซึ่งจะมีการดำเนินการด้วยการจัดการข้อมูล การออกแบบเนื้อหา การสื่อสารในทุกรูปแบบที่เหมาะสมกัน การดำเนินการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นถือได้ว่าเป็นหนึ่งในมาตรการในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 มาตรการ ขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ (กรมควบคุมมลพิษ, 2562) และตอบสนองต่อนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงวิเคราะห์หาสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ จิตสำนึกที่ดีเพื่อให้เกิดการนำไปสู่ความผาสุกและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป

ปัญหา

สถานการณ์วิกฤตที่มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกับกลุ่มเสี่ยงอย่างกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อาศัยในพื้นที่มีการพบการเผาเป็นปริมาณมาก ตลอดจนพื้นที่ที่ประสบกับปัญหาหมอกควันข้ามแดนอยู่ประจำ ดังนั้นประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวต้องเผชิญกับการสะสมฝุ่นละอองขนาดเล็กในร่างกายเป็นประจำ ก่อให้เกิดการสะสมของสารพิษในร่างกายอันส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ จึงเป็นที่มาของโครงการ “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตราฐานเป็นประจำทุกปี

แนวทางแก้ปัญหา

1. สร้างโรงเรียนหรือสถานศึกษาต้นแบบการรับมือกับฝุ่น PM2.5 ผ่านองค์ความรู้และข้อมูลวิทยาศาสตร์ 2. มีระบบข้อมูลองค์ความรู้ นวัตกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 และชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตร สำหรับใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน 3. เกิดความร่วมมือระหว่างโรงเรียนหรือสถานศึกษากับภาคีเครือข่าย ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ด้วยตนเอง และสามารถสื่อสารเรื่องภัยฝุ่น PM2.5 ส่งต่อไปยังครอบครัว ชุมชน และสังคมได้

ระยะเวลา:    20 เดือน
งบประมาณ:      9,798,200.00 บาท

ทีม:         นายบัณฑิต สิริมงคลเลิศกุล (หุ้นส่วนผู้จัดการ)
นางศุภกานต์ จันทร์วรรณ์ (การเงิน/บัญชี/ประสานงาน)


เป้าหมาย

เพื่อบูรณาการมาตรการการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเข้ากับนโยบาย กลยุทธ์ และการวางแผนระดับชาติ (SDG 13-13.2) เพื่อปรับปรุงการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และความสามารถของมนุษย์และสถาบันเกี่ยวกับการบรรเทา การปรับตัว การลดผลกระทบ และการเตือนล่วงหน้าต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (SDG 13-13.3)

Goal 13: Climate Action
Goal 13: Climate Action

13.2 Integrate climate change measures into national policies, strategies and planning

13.3 Improve education, awareness-raising and human and institutional capacity on climate change mitigation, adaptation, impact reduction and early warning


โมเดลผลกระทบทางสังคม

แนะนำเพิ่มเติม


ผู้มีส่วนได้เสีย

   

บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ประชาชน

คำอธิบาย     เด็กนักเรียนและคุณครูเกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยฝุ่นในโรงเรียน ไม่น้อยกว่า 1000 คน
ประเภทผู้รับประโยชน์     ผู้เป็นปัจจัยความสำเร็จของโครงการ
ระดับความสำคัญ      สูง
ปัญหา / โอกาส / ความท้าทายที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย     
กิจกรรม ผลผลิต (ผลที่เกิดขึ้นทันที) ผลลัพธ์


ข้อมูลผู้มีส่วนได้เสีย
ตัวชี้วัด
จำนวน
สอดคล้องกับเป้าหมาย
มาจาก