< กลับไปหน้าหลัก

Korat City Lab (ศูนย์ทดลองเมืองโคราช)

เผยแพร่

ภาพรวม

Korat City Lab (ศูนย์ทดลองเมืองโคราช) คือโครงการจัดตั้งห้องทดลองนโยบายและการออกแบบเมือง ที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้ข้อมูล วิจัย และการมีส่วนร่วมของพลเมืองเป็นหัวใจหลัก มีเป้าหมายเพื่อเป็น Working Body ในการรวบรวมปัญหา ความฝัน ความหวัง ความต้องการของพลเมือง ระบุจุดคานงัดและใช้วิธีวิทยาเพื่อพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสมกับบริบทเมืองโคราชเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ศูนย์ทดลองเมืองโคราช จะเป็นหน่วยย่อยภายใต้วิสาหกิจเพื่อสังคม บริษัท ฝันไม่เคย จำกัด ที่ตั้งอยู่ในเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดย บจก. ฝันไม่เคย เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมประเภทไม่แบ่งปันผลกำไร ที่จำหน่ายสินค้าและบริการภายใต้แบรนด์ HOPE และนำกำไรทั้งหมดไปสร้างผลกระทบทางสังคมโดยเฉพาะการส่งเสริมศักยภาพของเยาวชนต่อไป

ปัญหา

'เมืองโคราช' มีพัฒนาการเติบโตในฐานะเมืองหน้าด่านของกรุงเทพตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จวบจนยุคสงครามเวียดนามที่ทหาร G.I. เข้ามาตั้งฐานทัพอากาศที่โคราช ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดโดยเฉพาะในด้านคมนาคมและธุรกิจการบริการ แต่หลังจากปี พ.ศ. 2518 ที่ฐานทัพทยอยปิดตัวลง เมืองโคราชเปรียบเสมือนแมลงวันไร้หัวที่ไม่มีทิศทางเติบโตที่ชัดเจน คนท้องถิ่นปราศจากการมีส่วนร่วมจนไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเมือง และผู้นำในแต่ละยุคขาด “หลักคิดนำทาง” ชัดเจน นโยบายมักกลายเป็นรายการความปรารถนา (wish list) ที่ไม่มีตัวกรองหรือลำดับความสำคัญ ทำให้แผนขาดจุดเน้นและบิดเบือนได้ง่าย ซึ่งส่งผลให้ปัจจุบันโคราชมีปัญหาซับซ้อนในหลาย ๆ มิติ มิติหนึ่งที่ KCLab มองว่าเป็นจุดสำคัญคือปัญหาความอ่อนแอของภาคประชาสังคมโคราช ที่ทำให้คนโคราชไม่รู้สึกถึงความเป็นชุมชนและไม่รู้สึกว่าโคราชเป็น 'บ้าน'

แนวทางแก้ปัญหา

โครงการจัดตั้งศูนย์ทดลองเมืองโคราช (Korat City Lab) จึงเกิดขึ้นมาเพื่อค้นหาว่าเราจะรื้อฟื้นสำนึกแห่งความเป็นชุมชนของชาวโคราชได้อย่างไรในโลกที่ปั่นป่วนโกลาหล เรามีสมมติฐานว่าปัญหาของเมืองโคราชจะแก้ได้อย่างยั่งยืนก็ต่อเมื่อผู้นำหรือหลักคิดนำทางของการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ มาจากคนในพื้นที่เอง แต่จะทำอย่างไรให้การรวมตัวของคนในพื้นที่ ("ภาคประชาสังคม") มีความเข้มแข็งและสามารถยืนหยัดแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ในระยะยาว เราเชื่อว่าคำตอบอยู่ที่การสร้างเครื่องมือและบ่มเพาะวิธีคิดในการเปลี่ยนแปลงสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของโคราช KCLab จึงริเริ่มกระบวนการค้นหาจุดคานงัดเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น Policy Hackathon, Data Sandbox, การ Mapping ระบบเมือง, และเวที Co-creation Lab เพื่อก่อวงจรสร้างสรรค์ที่บ่มเพาะความแข็งแรงของภาคประชาสังคมในโคราชจนบรรลุมวลวิกฤตที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมโคราชในท้ายที่สุด

ระยะเวลา:    12 เดือน
งบประมาณ:      1,200,000.00 บาท

ทีม:         สิรภพ พงศ์ทรัพย์ธาดา (ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริหาร)


เป้าหมาย

เพื่อค้นหาจุดคานงัดเพื่อบรรลุมวลวิกฤตที่จำเป็นต่อการรักษาปฏิกิริยาลูกโซ่ในการพัฒนาเมืองโคราชอย่างยั่งยืน

Goal 11: Sustainable Cities and Communities
Goal 11: Sustainable Cities and Communities

11.3 By 2030, enhance inclusive and sustainable urbanization and capacity for participatory, integrated and sustainable human settlement planning and management in all countries

11.a Support positive economic, social and environmental links between urban, per-urban and rural areas by strengthening national and regional development planning

11.b By 2020, substantially increase the number of cities and human settlements adopting and implementing integrated policies and plans towards inclusion, resource efficiency, mitigation and adaptation to climate change, resilience to disasters, and develop and implement, in line with the Sendai Framework for Disaster Risk Reduction 2015-2030, holistic disaster risk management at all levels


โมเดลผลกระทบทางสังคม

แนะนำเพิ่มเติม


ผู้มีส่วนได้เสีย

   

พลเมืองโคราช

คำอธิบาย     พลเมืองที่อาศัยอยู่ในเมืองโคราชจำนวน 3000 คน ที่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเมือง เนื่องจากการบริหารและจัดการทรัพยากรสาธารณะเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่ม ไม่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเป็นระบบ
ประเภทผู้รับประโยชน์     ผู้รับประโยชน์ทางตรง
ระดับความสำคัญ      สูง
ปัญหา / โอกาส / ความท้าทายที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย      ขาดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเมือง
กิจกรรม ผลผลิต (ผลที่เกิดขึ้นทันที) ผลลัพธ์

Korat City Lab เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มมีบทบาทจริง รวบรวม–วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพเพื่อสร้างผลกระทบที่จับต้องได้

ผู้เข้าร่วมเห็นความเป็นไปได้ของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรสาธารณะ

ตัวชี้วัด   + เพิ่มตัวชี้วัด
จำนวนเริ่ม

จำนวนเป้าหมาย

จาก Korat City Lab เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มมีบทบาทจริง รวบรวม–วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพเพื่อสร้างผลกระทบที่จับต้องได้

ผู้เข้าร่วมรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเมืองที่ใหญ่กว่าตัวเอง

ตัวชี้วัด   + เพิ่มตัวชี้วัด
จำนวนเริ่ม

จำนวนเป้าหมาย

สอดคล้องกับเป้าหมาย
  • เพื่อค้นหาจุดคานงัดเพื่อบรรลุมวลวิกฤตที่จำเป็นต่อการรักษาปฏิกิริยาลูกโซ่ในการพัฒนาเมืองโคราชอย่างยั่งยืน

จาก ผู้เข้าร่วมเห็นความเป็นไปได้ของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรสาธารณะ



ข้อมูลผู้มีส่วนได้เสีย
ตัวชี้วัด
จำนวน
สอดคล้องกับเป้าหมาย
มาจาก