< กลับไปหน้าหลัก

บั๊ดดี้โฮมแคร์ (Buddy Homecare)

เผยแพร่

ภาพรวม

บั๊ดดี้โฮมแคร์เป็นกิจการเพื่อสังคมที่มุ่งแก้ปัญหาผู้สูงอายุยากไร้ ขาดคนดูแล และปัญหาเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ขาดโอกาสทางการศึกษา โดยให้การสนับสนุนโอกาสแก่เยาวชนกลุ่มดังกล่าวเข้ามาฝึกอบรมวิชาชีพเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อสามารถทำงานร่วมกับบั๊ดดี้โฮมแคร์ในการให้บริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ครอบครัวมีศักยภาพในการจ่ายค่าบริการและต้องการคนดูแลที่บ้าน และนำกำไรที่ได้มาจัดบริการเยี่ยมผู้สูงอายุยากไร้ โดยมีเยาวชนที่ขาดโอกาสเป็นอาสาสมัครในการดูแล

ปัญหา

ประเทศไทยยังมีเยาวชนจำนวนมากที่ยังคงขาดโอกาสทางการศึกษา โดยเฉพาะเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งขาดแคลนต้นทุนในการศึกษาต่อ ส่งผลให้ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพที่ดี ทำให้ได้ค่าตอบแทนไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต นอกจากนี้ การไม่มีความรู้เพียงพอยังส่งผลให้เยาวชนกลุ่มดังกล่าวกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกล่อลวงไปอยู่ในวงจรของยาเสพติดและการค้ามนุษย์ ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ยังมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่มีฐานะยากจนและยังคงขาดการดูแลที่มีคุณภาพ ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาคุณภาพชีวิตทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

แนวทางแก้ปัญหา

บั๊ดดี้โฮมแคร์จะคัดเลือกเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ขาดโอกาสทางการศึกษาเพื่อเข้ารับการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (420 ชั่วโมง) และเมื่อเรียนจบการอบรมก็จะได้ทำงานเป็นพนักงานดูแลผู้สูงอายุประจำที่บั๊ดดี้โฮมแคร์ เพื่อให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่ครอบครัวมีศักยภาพในการจ่ายค่าบริการ โดยบั๊ดดี้โฮมแคร์จะเป็นผู้รับรองคุณภาพบริการ หลังจากนั้น กิจการจะนำผลกำไรส่วนหนึ่งไปจัดบริการทางสุขภาพและสังคมให้กับผู้สูงอายุที่ยากไร้และขาดการดูแล

ระยะเวลา:    12 เดือน
งบประมาณ:      0.00 บาท

ทีม:         นางสาวอรพรรณ์ มงคลพนาสถิต (เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ)


เป้าหมาย

อบรมพัฒนาทักษะการดูแลผู้สูงอายุแก่เยาวชนชนเผ่า เพื่อสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพในการดูแลผู้สูงอายุ ทำให้มีรายได้ที่มั่นคง เพียงพอต่อการดำรงชีวิต

Goal 8: Decent Work and Economic Growth
Goal 8: Decent Work and Economic Growth

8.5 By 2030, achieve full and productive employment and decent work for all women and men, including for young people and persons with disabilities, and equal pay for work of equal value

ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ได้รับการพัฒนาทั้งด้านสุขภาพกายและใจ

Goal 3: Good Health and Well-being
Goal 3: Good Health and Well-being

3.4 By 2030, reduce by one third premature mortality from non-communicable diseases through prevention and treatment and promote mental health and well-being


โมเดลผลกระทบทางสังคม

แนะนำเพิ่มเติม


ผู้มีส่วนได้เสีย

   

เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์

คำอธิบาย     เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ 100 คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีฐานะยากจน และมีโอกาสเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่านั้น
ประเภทผู้รับประโยชน์     ผู้รับประโยชน์ทางตรง
ระดับความสำคัญ      สูง
ปัญหา / โอกาส / ความท้าทายที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย      - ขาดแคลนต้นทุนในการศึกษาต่อ ทำให้มีข้อจำกัดในการประกอบอาชีพและได้ค่าตอบแทนไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต - ไม่ได้รับความรู้เพียงพอ ทำให้ตกเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกล่อลวงไปอยู่ในวงจรของยาเสพติดและการค้ามนุษย์
กิจกรรม ผลผลิต (ผลที่เกิดขึ้นทันที) ผลลัพธ์

ได้รับการอบรมหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมงโดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ได้รับความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ

ตัวชี้วัด   แก้ไขตัวชี้วัด
มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
จำนวนเริ่ม

จำนวนเป้าหมาย

จาก ได้รับการอบรมหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมงโดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มีทักษะและความมั่นใจในการประกอบอาชีพดูแลผู้สูงอายุ

ตัวชี้วัด   แก้ไขตัวชี้วัด
มีทักษะและความมั่นใจในการดูแลผู้สูงอายุ
จำนวนเริ่ม

จำนวนเป้าหมาย

สอดคล้องกับเป้าหมาย
  • อบรมพัฒนาทักษะการดูแลผู้สูงอายุแก่เยาวชนชนเผ่า เพื่อสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพในการดูแลผู้สูงอายุ ทำให้มีรายได้ที่มั่นคง เพียงพอต่อการดำรงชีวิต

จาก ได้รับความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ

บั๊ดดี้โฮมแคร์ประสานงานให้เยาวชนได้ทำงานดูแลผู้สูงอายุที่มีกำลังจ่าย หลังจบการอบรมหลักสูตร 420 ชั่วโมง

รายได้เพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัด   แก้ไขตัวชี้วัด
มูลค่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น
จำนวนเริ่ม
2000 บาท
จำนวนเป้าหมาย
10000 บาท

จาก บั๊ดดี้โฮมแคร์ประสานงานให้เยาวชนได้ทำงานดูแลผู้สูงอายุที่มีกำลังจ่าย หลังจบการอบรมหลักสูตร 420 ชั่วโมง

มีรายได้มั่นคงและมีเงินออม หลุดพ้นจากวงจรความยากจน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ตัวชี้วัด   แก้ไขตัวชี้วัด
มูลค่าเงินออมที่เพิ่มขึ้น
จำนวนเริ่ม

จำนวนเป้าหมาย

สอดคล้องกับเป้าหมาย
  • อบรมพัฒนาทักษะการดูแลผู้สูงอายุแก่เยาวชนชนเผ่า เพื่อสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพในการดูแลผู้สูงอายุ ทำให้มีรายได้ที่มั่นคง เพียงพอต่อการดำรงชีวิต

จาก รายได้เพิ่มขึ้น


ผู้มีส่วนได้เสีย

   

ผู้สูงอายุทั่วไป

คำอธิบาย     ผู้สูงอายุที่ต้องการคนดูแลและอาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งมีกำลังจ่ายในการจ้างงานผู้ดูแลในด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย
ประเภทผู้รับประโยชน์     ผู้รับประโยชน์ทางตรง
ระดับความสำคัญ      สูง
ปัญหา / โอกาส / ความท้าทายที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย     
กิจกรรม ผลผลิต (ผลที่เกิดขึ้นทันที) ผลลัพธ์

ได้รับการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสิ่งแวดล้อมโดยเยาวชนที่ได้รับการอบรม

ได้รับบริการดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับภาวะโรคประจำตัวของตนเอง และช่วยลดภาระการดูแลของครอบครัวที่ไม่มีเวลาและความเชี่ยวชาญ

ตัวชี้วัด   แก้ไขตัวชี้วัด
ภาระของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุลดลง
จำนวนเริ่ม

จำนวนเป้าหมาย

จาก ได้รับการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสิ่งแวดล้อมโดยเยาวชนที่ได้รับการอบรม

มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ตัวชี้วัด   แก้ไขตัวชี้วัด
มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
จำนวนเริ่ม

จำนวนเป้าหมาย

สอดคล้องกับเป้าหมาย
  • ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ได้รับการพัฒนาทั้งด้านสุขภาพกายและใจ

จาก ได้รับบริการดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับภาวะโรคประจำตัวของตนเอง และช่วยลดภาระการดูแลของครอบครัวที่ไม่มีเวลาและความเชี่ยวชาญ


ผู้มีส่วนได้เสีย

   

ผู้สูงอายุยากไร้

คำอธิบาย     ผู้สูงอายุยากไร้ 1,700 คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แออัดจังหวัดเชียงใหม่ และยังขาดการดูแลที่มีคุณภาพ
ประเภทผู้รับประโยชน์     ผู้รับประโยชน์ทางตรง
ระดับความสำคัญ      สูง
ปัญหา / โอกาส / ความท้าทายที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย      - มีฐานะยากจนและอาศัยอยู่ในพื้นที่แออัดที่ไม่ได้มาตรฐาน - ขาดการดูแลที่มีคุณภาพ ทำให้ประสบปัญหาทั้งทางด้านสุขภาพและจิตใจ
กิจกรรม ผลผลิต (ผลที่เกิดขึ้นทันที) ผลลัพธ์

ได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และได้รับการดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันและที่อยู่อาศัย โดยเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ร่วมกับอาสาสมัครชุมชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ลดโอกาสการเกิดภาวะทุพโภชนาการ และโรคเรื้อรังต่างๆ

ตัวชี้วัด   แก้ไขตัวชี้วัด
ได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
จำนวนเริ่ม

จำนวนเป้าหมาย

จาก ได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และได้รับการดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันและที่อยู่อาศัย โดยเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ร่วมกับอาสาสมัครชุมชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ตัวชี้วัด   แก้ไขตัวชี้วัด
มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
จำนวนเริ่ม

จำนวนเป้าหมาย

สอดคล้องกับเป้าหมาย
  • ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ได้รับการพัฒนาทั้งด้านสุขภาพกายและใจ

จาก ลดโอกาสการเกิดภาวะทุพโภชนาการ และโรคเรื้อรังต่างๆ



ข้อมูลผู้มีส่วนได้เสีย
ตัวชี้วัด
จำนวน
สอดคล้องกับเป้าหมาย
มาจาก